วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3
วันอังคาร 23 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
       สรุปความรู้ใบงานเรื่อง
           รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
           คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี
           ทฤษฎีการเรียนรู้
           การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
           การเรียนรู้แบบองค์รวมและธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
การประยุกต์ใช้
        การสรุปเนื้อหาทำให้เรามีความเข้าใจได้ง่ายและจดจำได้นานเพราะเป็นการโน๊ตจุดสำคัญสามารถใช้ในการวางแผนทำสิ่งต่างๆได้
การประเมิน
        ประเมินตนอง ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลา
        ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
        ประเมินผู้สอน ผู้สอนติดงานราชการ แต่มีการเตรียมงานเตรียมใบความรู้สำหรับนักศึกษาทำในคาบเรียน

ศึกษาดูงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ณ เมืองทองธานี
18-28 สิงหาคม 2559
9.00-19.00 น.
อาคารอิมแพ็ค Hall 2-8 เมืองทองธานี


      งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559 (National Science and Technology Fair 2016) ภายใต้แนวคิด "จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม" ซึ่งภายในงานได้รวมสุดยอดนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาจัดแสดงให้แก่เยาวชนและผู้สนใจทั่วไปได้เข้าชม

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2 
วันจันทร์ 22 สิงหาคม 2559
(ชดเชยวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2559)

ความรู้ที่ได้รับ
     อาจารย์สอนเรื่องวิทยาสาสตร์ โดยเริ่มจากการถามว่า วิทยาศาสตร์คืออะไร
          วิทยาศาสตร์ หมายถึง ข้อมูลความจริงของสิ่งต่างๆรอบตัว เป็นการสืบค้นหรือค้นหาความจริงโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การทดลอง การใช้เหตุผล การสำรวจ การแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ เป็นต้น เพื่อให้ได้ซึ่งความรู้และข้อเท็จจริง
          วิทยาศาสตร์สำคัญอย่างไร เป็นสิ่งที่ตอบสนองการดำรงชีวิตทำให้เกิดความสะดวกสบายสำคัญต่อการสร้างประสบการณ์ทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
          วิธีการการเลือกเรื่องที่จะมาสอนเด็กควรเลือกจาก เรื่องใกล้ตัวเด็ก ความสนใจของเด็ก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนั้น สิ่งที่มีผลกระทบต่อเด็ก
          กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) คือ การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีกระบวนการที่เป็นแบบแผนมีขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ 
            1.กำหนดปัญหา 2.ตั้งสมมติฐาน 3.รวบรวมข้อมูล 4.วิเคราะห์ 5.สรปผล
          เครื่องมือการเรียนรู้ 
            1.ภาษา (Language) 2.คณิตศาสตร์ (Mathematics)
          เจตคติทางวิทยาศาสตร์
            1.อยากรู้อยากเห็น ซึ่งทำให้เกิดการตั้งปัญหา
            2.มีตวามเพียรพยายาม
            3.มีความระเบียบรอบคอบ
            4.มีความซื่อสัตย์
            5.มีเหตุผล
            6.มีความใจกว้าง
          แนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์คือการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวของสิ่งต่างๆในธรรมชาติ เช่น การที่กิ้งก่าเปลี่ยนสีได้เพื่อพลางตัว ธรรมชาตมีความแตกต่าง การพึ่งพาอาศัยกัน เ่ช่น ควายกับนกเอี้ยง ความสมดุล ซึ่งหากไม่มีจะทำให้เกิดปัญหา
การประยุกต์ใช้
      นำมาปรับใช้กับชีวิตจริงและปรับใช้กับการสอนและทำให้มีความเข้าใจในวิทยาสาสตร์มากขึ้น
การประเมิน
      ประเมินตนเอง แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลามีความตั้งใจเรียนและสอบถามเมื่อไม่เข้าใจ การโน๊ตมีความสับสนอยู่บ้างเพราะเป็นเนื้อหาที่ซับซ้อน
      ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์ด้วยความสนใจ
      ประเมินผู้สอน เนื้อหามีความยากผู้สอนควรมีเอกสารให้เพื่อให้การรับข้อมูลเป็นไปในทางเดียวกัน เพราะข้อมูลบางอันจดไม่ตรงกันกับเพื่อน

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1 
วันจันทร์ 22 สิงหาคม 2559
(ชดเชยวันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2559)

ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรก ในรายวิชาโดยอาจารย์ได้เข้ามาพูดคุยและแนะนำรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าจะมีการเรียนไปในทางทิศทางใดบ้าง
         แนวทางการสอนและข้อตกลงในรายวิชา
         วิธีการทำ Blog ที่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
            ส่วนประกอบของ Blog
               นาฬิกา (Clock), ปฏิทิน (Calender), สถิติ (Statistics), โปร์ไฟล์ (Profile)
               Link Blog ครูผู้สอน, หน่วยงานสนับสนุน, มคอ.3, งานวิจัยวิทยาศาสตร์หนึ่งเรื่อง(ไม่ซ้ำกันในห้อง), บทความ, สื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาทิเช่น เกม นิทาน เพลง ของเล่น แบบึกหัด เป็นต้น
               การบันทึกจะต้องมีศัพท์ภาษาอังกฤษ 5 คำ โดยในส่วนของการบันทึกจะมีทั้งหมด 3 หัวข้อ คือความรู้ที่ได้รับ การประยุกต์ใช้ และการประเมิน (ตนเอง,เพื่อน,ผู้สอน)
การประยุกต์ใช้
       สามารถนำมาใช้ในการทำ Blog เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ครบถ้วน
       เป็นการฝึกจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
การประเมิน
       ประเมินตนเอง รู้และเข้าใจวิธีการสร้าง Blog
       ประเมินเพื่อน มีคำถามตอบกับอาจารย์เสมอ เมื่อไม่เข้าใจในสิ่งที่ครูอธิบาย
       ประเมินผู้สอน อาจารย์มีการอธิบายเพิ่มเติม และตอบคำถาม ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น