วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5
วันอังคาร 16 กันยายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
        ดูวีดีโอเรื่องอากาศมหัศจรรย์


            อากาศ (atmosphere)
               อากาศ คือ ส่วนผสมของก๊าซต่างๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่นๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ หรือมีทุกที่นั้นเอง อากาสไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิน อากาศที่ไม่มีไอน้ำ เรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วยเรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศและไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
            สมบัติของอากาศ(Properties)
              1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
              2.อากาศมีน้ำหนัก
              3.อากาศต้องการที่อยู่
              4.อากาศเลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้นทำให้ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบรเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่นมากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
               อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น
               ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสองบรเวณนั้น ทำให้เกิดลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อพายุนั้นจะเรียกแตกต่างกันไปตามทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
               อุณหภมูิ (temperature) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลดต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของสิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศาฟาเรนไฮต์
               เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ อยู่ปลายด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำ อากาศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
             อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไวโอเลตหรืองแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
             ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ ทำให้เกิดเมฆฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตรกรรมในประเทศ

นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์จากสิ่งเหลือใช้
        1.รายละเอียดของเล่น ปืนใหญ่ลม
        2.อุปกรณ์ ขวดน้ำหนึ่งขวด ลูกโป่งหรือถุงยางมือหนึ่งอัน หนังยางหนึ่งเส้น คัดเตอร์ และเทปกาว




        3.ขั้นตอนการทำ
               ใช้คัตเตอร์ตัดครึ่งขวดใช้ส่วนที่ติดฝา


               นำถุงมือยางหรือลูกโป่งมาครอบที่ขวด
               ใช้หนังยางรัดขวดกับลูกโป่งไว้ให้แน่นและติดเทปกาว


         4.วิธีการเล่น
                นำเศษกระดาษมาวางไว้ข้างหน้าปืนใหญ่ลม แล้วดึงลูกโป่งที่รัดอยู่กับขวดหลังจากนั้นเล็งปากขวดไปที่เศษกระดาษแล้วก็ปล่อย จะทำให้เกิดลมแล้วเศษกระดาษก็จะกระเด็นออกไป
         ข้อสรุปทางวิทยาศาตร์
                ปืนใหญ่ลมอาสัยการผลักอากาศผ่านรูกลมๆโดยการยืดและปล่อยของลูกโป่งทำให้อากาศไปโดนอากาศที่อยู่ด้านหน้าของรูทำให้เกิดการหมุนเป็นรูปโดนัทวิ่งออกไปได้ตรงและไกลและสามารถยิงเศษกระดาษได้
การประยุกต์ใช้ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในการสอนการประดิษฐ์สิ่งการสอน
การประเมิน
         ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลา
         ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียน สนใจกับการเรียนรู้
         ประเมินผู้สอน ผู้สอนติดงานราชการ และมีงานเตรียมไว้ให้คือใบงานความรู้สำหรับนักศึกษาทำในชั่วโมงเรียน
               



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4
วันอังคาร 30 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
      คัดลายมือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมก่อนเข้าสู่บทเรียน



       วิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่างหรือเล่นโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างอิสระซึ่งจะ
ทำให้เด็กมีประสบการณ์ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้นั้นเป็นการที่สมองนำความรู้เดิมผสานซึมซับกับความรู้ใหม่(assimilation : การซึบซับ , accommodation : ปรับความรู้ใหม่)
            กิจกรรมในห้องเรียน
               แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม จากนั้นอาจารย์แจกอุปกรณ์ 1.คลิปหนีบ 2.กระดาษA4 โดยให้นำสองสิ่งนี้มาประดิษฐ์เป็นสื่อการสอนในเรื่อง อากาศ
               เรื่องที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ
                  1.การเกิดฝน (ใช้นิทานเป็นสื่อ)
                  2.พัด
                  3.ลม
                  4.แรงต้านอากาศ
                  5.วงจรฤดูกาล
                  6.ลมโบกลมทะเล(แก้ไขเป็นเรื่องดันอากาศ)



การประยุกต์ใช้
        สามารถนำมาใช้ในการเลือกเรื่องที่จะสอนเด็กในวิชาอืนๆได้
การประเมิน
        ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน
        ประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างดี
        ประเมินผู้สอน ผู้สอนให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจ