วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills)
เด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้
ทักษะการสังเกต (Observing)
      หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้าสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฎการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายระเอียดนั้นๆ เช่น
          การให้เด็กสังเกตสีของผลไม้และครูบอกว่ามีสีอะไรบ้าง
          การให้เด็กฟังเสียงร้องของนกชนิดต่างๆแล้วบอกว่าเป็นเสียงนกอะไร
          หรือการให้เด็กชิมรสชาติของน้ำผลไม้และบอกว่าเป็นรสชาติของผลไม้ใดบ้าง เป็นต้น

ทักษะการวัด (Measuring)
       หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เช่น การวัดความยาวของโต๊ะเรียน การวัดความสูงของเก้าอี้ การวัดความหนาของหนังสือ สำหรับเด็กปฐมวัยหน่วยการวัดเด็กอาจจะเลือกเอง เช่น เด็กอาจจะวัดความยาวของโต๊ะดดยใช้เชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้า 2 เส้น เป็นต้น

ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
       หมายถึง ความสามารถในการจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฎการณ์ต่างๆ ออกมาเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความต่าง และความสัมพันธ์ เช่น การให้เด็กจำแนกผักด้วยเกณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้สีเป็นเกณฑ์ ใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์ หรือใช้ผิวสัมผัสเป็นเกณฑ์ เป็นต้น

ทักษะการสื่อสาร (Communicating)
       หมายถึง ความสามารถในการแสดงผลข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง นำมาจำแนก เรียงลำดับ และนำเสนอด้วยการเขียน แผนภาพ แผนผัง แผนที่ เช่น การให้เด็กปฐมวัยสำรวจจำนวนผักชนิดต่างๆที่อยู่ตะกร้า และเด็กอาจจะสื่อสารด้วยการนำเสนอออกมาเป็นภาพวาดผักที่แสดงจำนวนผักแต่ละชนิด เด็กอาจจะวาดรูปมะเขือ 5 ผล แตงกวา 7 ผล ผักชี 4 ต้น ลักษณะของการนำเสนอจะขึ้นอยู่กับระดับความสามารถและความต้องการของเด็ก ทักษะการสื่อสารและวิธีการนำเสนอจะมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอายุและสติปัญญาของเด็ก

ทักษะการลงความเห็น (Inferring)
       หมายถึง ความสามารถในการนำเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ เช่น การจัดกิจกรรมให้เด็กสำรวจพืชน้ำ จากการที่เด็กได้ไปสังเกตลักษณะของพืชน้ำ แล้วสรุปลงความเห็นว่า พืชน้ำมีลักษณะต้นกลวง นิ่ม มีท่ออยู่ในลำต้นมีรากเป็นกระจุก เช่น ผักตบชวา ผักกระเฉด ผักบุ้ง จอก แหก เป้นต้น

ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
       หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฎการณ์ซ้ำๆ และนำความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นๆ มาช่วยในการทำนายภายในขอบเขตของข้อมูล และภายนอกของขอบเขตของข้อมูล เช่น จากการที่เด็กสังเกตว่าก่อนฝนตกจะมีเมฆมากและท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมพัดและเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กรับรู้มาก่อน ดังนั้น เมื่อมีปรากฎการณ์ดังกล่าวร่วมกันในครั้งต่อมา เด็กจะพยากรณืได้ว่าถ้ามีลักษณะดังกล่าว

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16
วันอังคาร 22 พฤศจิกายน 2559
เนื้อหาการเรียนการสอน
      สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และบูรณาการสู่ STEM

การจัดการเรียนการสอนวันพุธ "หน่วยร่างกาย อวัยวะส่วนต่างๆ"
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
ขั้นสอน
ขั้นสรุป

การนำไปประยุกต์ใช้
การประเมิน
     ประเมินตนเอง
     ประเมินเพื่อน
     ประเมินผู้สอน
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15
วันอังคาร 15 พฤศจิกายน 2559
เนื้อหาการเรียนการสอน
     การเขียนแผนการเรียนการสอนของแต่วันใน 1 สัปดาห์ของ หน่วยร่างกาย


วันจันทร์
วันอังคาร
วันพุธ
วันพฤหัสบดี
วันศุกร์
     โดยเรื่องที่จะนำมาสาธิตวิธีการสอน คือ การสอนของวันจันทร์ เรื่อง "อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย"
      วัตถุประสงค์
      สาระที่ควรเรียนรู้
      ประสบการณ์สำคัญ
        1. ด้านร่างกาย
        2. ด้านอารมณ์จิตใจ
        3. ด้านสังคม
        4. ด้านสติปัญญา
      กิจกรรมการเรียนรู้
        ขั้นนำ
        ขั้นสอน
        ขั้นสรุป
        สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
        การวัดและประเมินผล
        การบูรณาการ
        การนำไปประยุกต์ใช้
การประเมิน
       ประเมินตนเอง
       ประเมินเพื่อน
       ประเมินผู้สอน
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14
วันอังคาร 8 พฤศจิกายน 2559

             เข้าร่วมกิจกรรมการสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ "หน่วยผีเสื้อ" แก่คณะอาจารย์จากประเทศออสเตรีย
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13
วันอังคาร 2 พฤศจิกายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
          Present VDO การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
             คำแนะการประดิษฐ์ของเล่น
  1. ควรมี subtitle ประกอบเพื่อให้เด็กได้เห็นคำและรู้จักภาษามากยิ่งขึ้น
  2. ตัวอักษรควรเป็นแบบมาตรฐาน  ไม่ใช่ตัวเขียนเล่น
  3. การแนะนำอุปกรณ์ควรมีตัวหนังสือกำกับ บอกจำนวน  และลักษณนามให้ถูกต้อง
  4. หน่วยการวัดไม่ควรใช้ เมตร/เซนติเมตร  ควรสร้างเครื่องมือขึ้นมา เช่นวาดรูปฝ่ามือลงบนกระดาษเพื่อเป็นหน่วยวัด 1 ฝ่ามือ
  5. ในตอนท้ายควรมีแผนผังกราฟฟิกสรุปวิธีการทำอีกครั้งเพื่อทบทวนแกเด็ก
  6. บอกหน้าที่การทำงานของสมาชิกในกลุ่มด้วย
  7. ในคลิปวีดิโอไม่ต้องมีการเล่นให้ดูให้แค่มีแค่วิธีการประดิษฐ์เพราะการเล่นจะเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆได้ทำในห้องได้ทดลองเอง
การประยุกต์ใช้  สามารถนำข้อเสนอแนะที่อาจารย์ให้ไปปรับปรุงให้วีดีโอการสอนดีขึ้น
การประเมิน
          ประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาและถามเมื่อไม่เข้าใจ
          ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจอย่างมากสนใจการเรียนเป็นอย่างดี
          ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมแต่อยากให้มีเอกสารประกอบการเรียนด้วยเพราะเนื้อหามีความยากจนบางครั้งทำให้สับสน/ข้อความคลาดเคลื่อน
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12
วันอังคาร 25 ตุลาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
                การทำ Mind mapping
                   1.การแตกแผนผังความคิดคือ เพื่อสร้างเนื้อหาสำหรับสอนเด็กๆ
                   2.ต้องแบ่งหัวข้อ/เนื้อหาให้มีความสมดุล
                   3.เรียงลำดับหัวข้อจากขวาไปซ้าย(ตามเข็มนาฬิกา)
                   4.ควรตกแต่ง/ใส่รูป**เพราะเด็กจะได้เทียบเคียงในการอ่าน**
                   5.ตัวหนังสือชัดเจนอ่านง่ายไม่เอียงไปมา
นำเสนอ Mind mapping ที่แก้ไขแล้วและรับคำแนะนำเพิ่มเติม
         หน่วยไก่
         หน่วยข้าว
         หน่วยน้ำ
         หน่วยกล้วย
         หน่วยนม
         หน่วยส้ม(แก้ไขแล้ว)
         หน่วยส้ม(ดั้งเดิม)
การวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยต่างๆกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์
         สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
             สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
                             หน่วยไก่ เรียนรู้ส่วนประกอบไก่ (ตา หาง) แล้วบอกหน้าที่ของส่วนประกอบ 
             สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                             หน่วยน้ำ เรียนรู้ประโยชน์ ความสัมพันธ์และความสำคัญ
             สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
                             สามารถสอนได้ทุกหน่วย  โดยวิธีการทดลอง การทำCooking
             สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่  
                            หน่วยน้ำ  หน่วยนม  หน่วยส้ม เช่นให้เด็กๆนำผลส้มใส่ตระกร้า แล้วทำให้เคลื่นที่ด้วยวิธีต่างๆ               สาระที่ 5 พลังงาน
                             หน่วยข้าว
             สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
                             หน่วยฤดูการ/ปรากฏการธรรมชาติ
             สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
                             หน่วยดวงจันทร์/ดวงอาทิตย์
             สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                              หน่วยที่มีการทดลอง
การประยุกต์ใช้  สามารถนำเอาเนื้อหาต่างๆมาแตกหัวข้อย่อยๆสร้างเป็นเนื้อหาสำหรับสอนและสามารถนำเนื้อหามาสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ได้
การประเมิน
             ประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายถามตอบอยู่เสมอ
             ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจอย่างมากจดความรู้อยู่ตลอด
             ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมงานเตรียมตัวมาอย่างดี
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11
วันอังคาร 18 ตุลาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
             นำเสนอของเล่น(งานกลุ่ม) ที่สามารถนำไปจัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ได้
          ของเล่นแต่ละกลุ่ม
             1.ไข่มหัศจรรย์
             2.นาฬิกาทาย
             3.ขวดเต้นระบำ
             4.วงจรของโลก
             5.ทวินแพน
             6.กล่องสุริยะจักรวาล
             7.รางหรรษา
             8.โรงละครผีเสื้อเริงระบำ
             9.ภาพใต้น้ำ
ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่น เป็นงานที่ทำด้วยกันสองคน เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
          เนื้อหาวิทยาศาสตร์ มี 4 สาระการเรียนรู้
             1.การตั้งประเด็นคำถาม ตั้งประเด็นปัญหา
             2.ตั้งสมมุติฐาน
             3.การทดลองการใช้ทักษะการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล
             4.วิเคราะห์ สรุป อภิปราย
การประยุกต์ใช้ ไปใช้ได้กับทุกวิชาและใช้ในชีวิตประจำวันได้  เช่น  ฝึกคิดอย่างเป็นระบบละเอียดและรอบครอบ
การประเมิน
              ประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาพูดคุยปรึกษาเพื่อนเสมอ
              ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจงานเสร็จทันเวลา
              ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อม  อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ