วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10
วันอังคาร 11 ตุลาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
             แผนผังกราฟิก
                   เป็นการเขียนเพือให้เนื้อหามีความเขียนกระชับ และเข้าใจง่าย ผังกราฟฟิก เป็นเครื่องมือในการนเสนอ เป็นตัว T = Technology (STEM) ข้อมูลที่อยู่ในผังเป็นลำดับขั้นนั้นคือการวางแผน เป็นตัว E = Engineer (STEM) การเขียนเป็นลำดับ เป็นตัว M = Mathematics (STEM)
การทำสื่อ
            โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 8 คน แล้วเลือกของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เคยนำเสนอมา 1 เพื่อทำเป็นสื่อการสอน
ขวดบ้าพลัง
           1.ขวดน้ำ 1 ขวด
           2.ลูกโป่ง 1 ลูก
           3.หนังยาง 3 เส้น
           4.กรรไกร  1 อัน
วิธีทำ ขวดบ้าพลัง
           1.ใช้กรรไกรติดก้นขวดออก
           2.ตัดหัวลูกโป่งออก แล้วนำมาสวมขวดที่ตัดไว้
           3.ใช้หนังยางรัดลูกโป่งกับขวดให้แน่น
           4.เสร็จแล้วก็จะได้ของเล่นขวดบ้าพลัง

กระบวนการสอน 
     1.เตรียมไว้โต๊ะอุปกรณ์แล้วถามว่าเด็กๆ เห็นอะไรบ้าง
     2.แนะนำอุปกรณ์โดยถามเด็กๆก่อนว่า อุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำอะไรได้บ้าง (ตอบคำถามปลายเปิด) ถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนเด็กไม่รู้จักครู้ต้องบอกชื่ออุปกรณ์พร้อมทั้งหยิบให้ดู
     3.เชื่อมโยงความรู้ให้เด็กๆเรียนรู้เรื่อง การเคลื่อนที่ ที่เกิดจากแรงดันอากาศ เมื่อดึงลูกโป่งจากขวดออก จะเกิดการสะสมพลังงงานที่ลูกโป่ง และมีอากาศเข้าไปแทนที่ เมื่อปล่อยอากาศที่เข้าไปแทนที่ก็จะพุ่งออกเกิดเป็นแรงดันอากาศ 
     4.เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว/ชีวิตประจำวันว่าเด็กๆจะทำอะไรได้บ้างให้วัตถุเคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือ(เช่น เป่า)
     5.เมื่อเด็กตอบคำถามในข้อ 4 เสร็จแล้วครูเด็กๆชวนประดิษฐ์ของเล่นที่เคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือ(ขวดบ้าพลัง) 
     6.ชวนเด็กลองsearch วิธีการทำขวดบ้าพลัง จากอินเทอร์เน็ต 
     7.ดู VDO จากสื่อที่เราทำเตรียมไว้แล้ว post on youtube 
     8.ครูสาธิตขั้นตอนการทำ
     9.แจกอุปกรณ์แก่เด็กๆแล้วให้เด็กลองประดิษฐ์
     10.เมื่อประดิษฐ์เสร็จแล้วให้เด็กนำของเล่นมาทดลองโดยเล่น/การแข่งขันกัน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดสังเกตลักษณะต่างๆของของเล่นและมีการเก็บข้อมูล
     11.เมื่อเล่นเสร็จแล้วให้เด็กเปรียบเทียบประสิทธภาพของของเล่น เช่น ความแรง ความไกลของสิ่งของ โดยการทำเป็นตารางกราฟ 
     12.สรุปผล โดยถามเด็กๆว่า ลูกปิงปองเคลื่อนที่ได้อย่างไร
การประยุกต์ใช้ นำไปใช้กับการเรียนการสอนในวิชาอื่นๆได้
การประเมิน
         ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังคำสั่งจากครูแต่ก็ยังงงอยู่มาก  มีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานทำให้ต้องใช้เวลาปรับเข้าหากัน
         ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจและสนใจดี    
         ประเมินผู้สอน  ผู้สอนอธิบายเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจง่ายแต่ขั้นตอนในการให้ปฏิบัติงานกลุ่มมีความงงอยู่บ้าง



                  
                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น