วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills)
เด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้
ทักษะการสังเกต (Observing)
      หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้าสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฎการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายระเอียดนั้นๆ เช่น
          การให้เด็กสังเกตสีของผลไม้และครูบอกว่ามีสีอะไรบ้าง
          การให้เด็กฟังเสียงร้องของนกชนิดต่างๆแล้วบอกว่าเป็นเสียงนกอะไร
          หรือการให้เด็กชิมรสชาติของน้ำผลไม้และบอกว่าเป็นรสชาติของผลไม้ใดบ้าง เป็นต้น

ทักษะการวัด (Measuring)
       หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เช่น การวัดความยาวของโต๊ะเรียน การวัดความสูงของเก้าอี้ การวัดความหนาของหนังสือ สำหรับเด็กปฐมวัยหน่วยการวัดเด็กอาจจะเลือกเอง เช่น เด็กอาจจะวัดความยาวของโต๊ะดดยใช้เชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้า 2 เส้น เป็นต้น

ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
       หมายถึง ความสามารถในการจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฎการณ์ต่างๆ ออกมาเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความต่าง และความสัมพันธ์ เช่น การให้เด็กจำแนกผักด้วยเกณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้สีเป็นเกณฑ์ ใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์ หรือใช้ผิวสัมผัสเป็นเกณฑ์ เป็นต้น

ทักษะการสื่อสาร (Communicating)
       หมายถึง ความสามารถในการแสดงผลข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง นำมาจำแนก เรียงลำดับ และนำเสนอด้วยการเขียน แผนภาพ แผนผัง แผนที่ เช่น การให้เด็กปฐมวัยสำรวจจำนวนผักชนิดต่างๆที่อยู่ตะกร้า และเด็กอาจจะสื่อสารด้วยการนำเสนอออกมาเป็นภาพวาดผักที่แสดงจำนวนผักแต่ละชนิด เด็กอาจจะวาดรูปมะเขือ 5 ผล แตงกวา 7 ผล ผักชี 4 ต้น ลักษณะของการนำเสนอจะขึ้นอยู่กับระดับความสามารถและความต้องการของเด็ก ทักษะการสื่อสารและวิธีการนำเสนอจะมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอายุและสติปัญญาของเด็ก

ทักษะการลงความเห็น (Inferring)
       หมายถึง ความสามารถในการนำเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ เช่น การจัดกิจกรรมให้เด็กสำรวจพืชน้ำ จากการที่เด็กได้ไปสังเกตลักษณะของพืชน้ำ แล้วสรุปลงความเห็นว่า พืชน้ำมีลักษณะต้นกลวง นิ่ม มีท่ออยู่ในลำต้นมีรากเป็นกระจุก เช่น ผักตบชวา ผักกระเฉด ผักบุ้ง จอก แหก เป้นต้น

ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
       หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฎการณ์ซ้ำๆ และนำความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นๆ มาช่วยในการทำนายภายในขอบเขตของข้อมูล และภายนอกของขอบเขตของข้อมูล เช่น จากการที่เด็กสังเกตว่าก่อนฝนตกจะมีเมฆมากและท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมพัดและเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กรับรู้มาก่อน ดังนั้น เมื่อมีปรากฎการณ์ดังกล่าวร่วมกันในครั้งต่อมา เด็กจะพยากรณืได้ว่าถ้ามีลักษณะดังกล่าว

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16
วันอังคาร 22 พฤศจิกายน 2559
เนื้อหาการเรียนการสอน
      สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และบูรณาการสู่ STEM

การจัดการเรียนการสอนวันพุธ "หน่วยร่างกาย อวัยวะส่วนต่างๆ"
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
ขั้นสอน
ขั้นสรุป

การนำไปประยุกต์ใช้
การประเมิน
     ประเมินตนเอง
     ประเมินเพื่อน
     ประเมินผู้สอน
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15
วันอังคาร 15 พฤศจิกายน 2559
เนื้อหาการเรียนการสอน
     การเขียนแผนการเรียนการสอนของแต่วันใน 1 สัปดาห์ของ หน่วยร่างกาย


วันจันทร์
วันอังคาร
วันพุธ
วันพฤหัสบดี
วันศุกร์
     โดยเรื่องที่จะนำมาสาธิตวิธีการสอน คือ การสอนของวันจันทร์ เรื่อง "อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย"
      วัตถุประสงค์
      สาระที่ควรเรียนรู้
      ประสบการณ์สำคัญ
        1. ด้านร่างกาย
        2. ด้านอารมณ์จิตใจ
        3. ด้านสังคม
        4. ด้านสติปัญญา
      กิจกรรมการเรียนรู้
        ขั้นนำ
        ขั้นสอน
        ขั้นสรุป
        สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
        การวัดและประเมินผล
        การบูรณาการ
        การนำไปประยุกต์ใช้
การประเมิน
       ประเมินตนเอง
       ประเมินเพื่อน
       ประเมินผู้สอน
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14
วันอังคาร 8 พฤศจิกายน 2559

             เข้าร่วมกิจกรรมการสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ "หน่วยผีเสื้อ" แก่คณะอาจารย์จากประเทศออสเตรีย
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13
วันอังคาร 2 พฤศจิกายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
          Present VDO การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
             คำแนะการประดิษฐ์ของเล่น
  1. ควรมี subtitle ประกอบเพื่อให้เด็กได้เห็นคำและรู้จักภาษามากยิ่งขึ้น
  2. ตัวอักษรควรเป็นแบบมาตรฐาน  ไม่ใช่ตัวเขียนเล่น
  3. การแนะนำอุปกรณ์ควรมีตัวหนังสือกำกับ บอกจำนวน  และลักษณนามให้ถูกต้อง
  4. หน่วยการวัดไม่ควรใช้ เมตร/เซนติเมตร  ควรสร้างเครื่องมือขึ้นมา เช่นวาดรูปฝ่ามือลงบนกระดาษเพื่อเป็นหน่วยวัด 1 ฝ่ามือ
  5. ในตอนท้ายควรมีแผนผังกราฟฟิกสรุปวิธีการทำอีกครั้งเพื่อทบทวนแกเด็ก
  6. บอกหน้าที่การทำงานของสมาชิกในกลุ่มด้วย
  7. ในคลิปวีดิโอไม่ต้องมีการเล่นให้ดูให้แค่มีแค่วิธีการประดิษฐ์เพราะการเล่นจะเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆได้ทำในห้องได้ทดลองเอง
การประยุกต์ใช้  สามารถนำข้อเสนอแนะที่อาจารย์ให้ไปปรับปรุงให้วีดีโอการสอนดีขึ้น
การประเมิน
          ประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาและถามเมื่อไม่เข้าใจ
          ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจอย่างมากสนใจการเรียนเป็นอย่างดี
          ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมแต่อยากให้มีเอกสารประกอบการเรียนด้วยเพราะเนื้อหามีความยากจนบางครั้งทำให้สับสน/ข้อความคลาดเคลื่อน
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12
วันอังคาร 25 ตุลาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
                การทำ Mind mapping
                   1.การแตกแผนผังความคิดคือ เพื่อสร้างเนื้อหาสำหรับสอนเด็กๆ
                   2.ต้องแบ่งหัวข้อ/เนื้อหาให้มีความสมดุล
                   3.เรียงลำดับหัวข้อจากขวาไปซ้าย(ตามเข็มนาฬิกา)
                   4.ควรตกแต่ง/ใส่รูป**เพราะเด็กจะได้เทียบเคียงในการอ่าน**
                   5.ตัวหนังสือชัดเจนอ่านง่ายไม่เอียงไปมา
นำเสนอ Mind mapping ที่แก้ไขแล้วและรับคำแนะนำเพิ่มเติม
         หน่วยไก่
         หน่วยข้าว
         หน่วยน้ำ
         หน่วยกล้วย
         หน่วยนม
         หน่วยส้ม(แก้ไขแล้ว)
         หน่วยส้ม(ดั้งเดิม)
การวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยต่างๆกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์
         สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
             สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
                             หน่วยไก่ เรียนรู้ส่วนประกอบไก่ (ตา หาง) แล้วบอกหน้าที่ของส่วนประกอบ 
             สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                             หน่วยน้ำ เรียนรู้ประโยชน์ ความสัมพันธ์และความสำคัญ
             สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
                             สามารถสอนได้ทุกหน่วย  โดยวิธีการทดลอง การทำCooking
             สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่  
                            หน่วยน้ำ  หน่วยนม  หน่วยส้ม เช่นให้เด็กๆนำผลส้มใส่ตระกร้า แล้วทำให้เคลื่นที่ด้วยวิธีต่างๆ               สาระที่ 5 พลังงาน
                             หน่วยข้าว
             สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
                             หน่วยฤดูการ/ปรากฏการธรรมชาติ
             สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
                             หน่วยดวงจันทร์/ดวงอาทิตย์
             สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                              หน่วยที่มีการทดลอง
การประยุกต์ใช้  สามารถนำเอาเนื้อหาต่างๆมาแตกหัวข้อย่อยๆสร้างเป็นเนื้อหาสำหรับสอนและสามารถนำเนื้อหามาสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ได้
การประเมิน
             ประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายถามตอบอยู่เสมอ
             ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจอย่างมากจดความรู้อยู่ตลอด
             ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมงานเตรียมตัวมาอย่างดี
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11
วันอังคาร 18 ตุลาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
             นำเสนอของเล่น(งานกลุ่ม) ที่สามารถนำไปจัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ได้
          ของเล่นแต่ละกลุ่ม
             1.ไข่มหัศจรรย์
             2.นาฬิกาทาย
             3.ขวดเต้นระบำ
             4.วงจรของโลก
             5.ทวินแพน
             6.กล่องสุริยะจักรวาล
             7.รางหรรษา
             8.โรงละครผีเสื้อเริงระบำ
             9.ภาพใต้น้ำ
ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่น เป็นงานที่ทำด้วยกันสองคน เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
          เนื้อหาวิทยาศาสตร์ มี 4 สาระการเรียนรู้
             1.การตั้งประเด็นคำถาม ตั้งประเด็นปัญหา
             2.ตั้งสมมุติฐาน
             3.การทดลองการใช้ทักษะการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล
             4.วิเคราะห์ สรุป อภิปราย
การประยุกต์ใช้ ไปใช้ได้กับทุกวิชาและใช้ในชีวิตประจำวันได้  เช่น  ฝึกคิดอย่างเป็นระบบละเอียดและรอบครอบ
การประเมิน
              ประเมินตนเอง  ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาพูดคุยปรึกษาเพื่อนเสมอ
              ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจงานเสร็จทันเวลา
              ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อม  อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ
             
           
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10
วันอังคาร 11 ตุลาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
             แผนผังกราฟิก
                   เป็นการเขียนเพือให้เนื้อหามีความเขียนกระชับ และเข้าใจง่าย ผังกราฟฟิก เป็นเครื่องมือในการนเสนอ เป็นตัว T = Technology (STEM) ข้อมูลที่อยู่ในผังเป็นลำดับขั้นนั้นคือการวางแผน เป็นตัว E = Engineer (STEM) การเขียนเป็นลำดับ เป็นตัว M = Mathematics (STEM)
การทำสื่อ
            โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 8 คน แล้วเลือกของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เคยนำเสนอมา 1 เพื่อทำเป็นสื่อการสอน
ขวดบ้าพลัง
           1.ขวดน้ำ 1 ขวด
           2.ลูกโป่ง 1 ลูก
           3.หนังยาง 3 เส้น
           4.กรรไกร  1 อัน
วิธีทำ ขวดบ้าพลัง
           1.ใช้กรรไกรติดก้นขวดออก
           2.ตัดหัวลูกโป่งออก แล้วนำมาสวมขวดที่ตัดไว้
           3.ใช้หนังยางรัดลูกโป่งกับขวดให้แน่น
           4.เสร็จแล้วก็จะได้ของเล่นขวดบ้าพลัง

กระบวนการสอน 
     1.เตรียมไว้โต๊ะอุปกรณ์แล้วถามว่าเด็กๆ เห็นอะไรบ้าง
     2.แนะนำอุปกรณ์โดยถามเด็กๆก่อนว่า อุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำอะไรได้บ้าง (ตอบคำถามปลายเปิด) ถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนเด็กไม่รู้จักครู้ต้องบอกชื่ออุปกรณ์พร้อมทั้งหยิบให้ดู
     3.เชื่อมโยงความรู้ให้เด็กๆเรียนรู้เรื่อง การเคลื่อนที่ ที่เกิดจากแรงดันอากาศ เมื่อดึงลูกโป่งจากขวดออก จะเกิดการสะสมพลังงงานที่ลูกโป่ง และมีอากาศเข้าไปแทนที่ เมื่อปล่อยอากาศที่เข้าไปแทนที่ก็จะพุ่งออกเกิดเป็นแรงดันอากาศ 
     4.เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว/ชีวิตประจำวันว่าเด็กๆจะทำอะไรได้บ้างให้วัตถุเคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือ(เช่น เป่า)
     5.เมื่อเด็กตอบคำถามในข้อ 4 เสร็จแล้วครูเด็กๆชวนประดิษฐ์ของเล่นที่เคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือ(ขวดบ้าพลัง) 
     6.ชวนเด็กลองsearch วิธีการทำขวดบ้าพลัง จากอินเทอร์เน็ต 
     7.ดู VDO จากสื่อที่เราทำเตรียมไว้แล้ว post on youtube 
     8.ครูสาธิตขั้นตอนการทำ
     9.แจกอุปกรณ์แก่เด็กๆแล้วให้เด็กลองประดิษฐ์
     10.เมื่อประดิษฐ์เสร็จแล้วให้เด็กนำของเล่นมาทดลองโดยเล่น/การแข่งขันกัน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดสังเกตลักษณะต่างๆของของเล่นและมีการเก็บข้อมูล
     11.เมื่อเล่นเสร็จแล้วให้เด็กเปรียบเทียบประสิทธภาพของของเล่น เช่น ความแรง ความไกลของสิ่งของ โดยการทำเป็นตารางกราฟ 
     12.สรุปผล โดยถามเด็กๆว่า ลูกปิงปองเคลื่อนที่ได้อย่างไร
การประยุกต์ใช้ นำไปใช้กับการเรียนการสอนในวิชาอื่นๆได้
การประเมิน
         ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังคำสั่งจากครูแต่ก็ยังงงอยู่มาก  มีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานทำให้ต้องใช้เวลาปรับเข้าหากัน
         ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจและสนใจดี    
         ประเมินผู้สอน  ผู้สอนอธิบายเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจง่ายแต่ขั้นตอนในการให้ปฏิบัติงานกลุ่มมีความงงอยู่บ้าง



                  
                 

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9
วันอังคาร 11 ตุลาคม 2559 

ความรู้ที่ได้รับ
        การทำ Cooking "ทาโกยากิไข่ขาว" นำสอนโดยพี่ นศ.ปี 5
โดยแบ่งเด็กออกเป็น 4 ฐาน
        ฐานที่ 1 วาดวัตถุดิบและอุปกรณ์
        ฐานที่ 2 เตรียมอุปกรณ์
        ฐานที่ 3 ผสมวัตถุดิบและปรุงรส
        ฐานที่ 4 ทำทาโกยากิ
           การที่ต้องแบ่งเด็กออกเป็น 4 ฐาน เพราะว่าเด็กจะได้ทำกิจกรรมครบทุกขั้นตอนและเด็กจะได้มีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง
การดำเนินกิจกรรม
        ขั้นนำ
             ร้องเพลงที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่เรียนโดย
                 ครูจะเป็นผู้อ่านให้ฟังก่อน 1 รอบ
                 ให้เด็กๆ ร้องตามครูทีละท่อน
                 ครูและเด็ฏจะร้องพร้อมกัน
                 เมื่อร้องเพลงเสร็จแล้วถามเด็กๆ เกี่ยวกับเนื้อเพลงแล้ว ยังมีอาหารอะไรบ้างที่มีประโยชน์
                 ถามนอกจากเนื้อเพลง เช่น นอกจากอาหารในเนื้อเพลงแล้ว ยังมีอาหารอะไรอีกบ้างที่มีประโยชน์
เนื้อเพลง อาหารดีมีประโยชน์
    อาหารดีมีประโยชน์    คือผักสด เนื้อหมู ปู ปลา   เป็ด ไก่ ไข่ นม ผลไม้ นานา   ส่วนมีคุณค่าต่อร่างกายของเรา
         ขั้นสอน
                 ให้เด็กๆ สังเกตุอุปกรณ์ที่วางบนโต๊ะแล้วถามให้เด็กๆ วันนี้เราจะมาทำอะไรกัน
                 เมื่อเด็กตอบแล้ว ครูจึงเฉลยว่าเป็นกิจกรรมอะไร
                 ครูแนะนำอุปกรณ์ทีละอย่างพร้อมถามเด็กๆว่าคืออะไร
                 ถ้าวัสดุอุปกรณ์ชิ้นไหนเด็กไม่รู้จัก ให้ครูพูดชื่อสิ่งนั้น แล้วให้เด็กพูดตามครู
                 ครูสาธิตขั้นตอนการทำให้เด็กดูแล้วปล่อยเข้าฐาน


         ฐานที่ 1 วาดวัตถุดิบและอุปกรณ์


                 ให้เด็กวาดรูปวัสดุุอุปกรณ์
         ฐานที่ 2 เตรียมอุกปรณ์
                  ให้เด็กได้ลงมือหั่นวัสดุเองโดยที่ครูจะคอยพูดคุยและบอกให้เด็กระมัดระวัง
         ฐานที่ 3 ผสมวัตถุดิบและปรุงรส


                  ให้เด็กๆได้ลงมือพร้อมทั้งช่วยกันนับปริมาณของเครื่องปรุง
         ฐานที่ 4 ทำทาโกยากิ



                  ครูต้องคอยแนะนำการใช้อุปกรณ์เพราะอาจเกิดอันตรายจากความร้อนได้  ทั้งนี้ยังสามารถแทรกซึมข้อความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย  เช่น เรื่องความร้อนสังเกตได้จากการที่เนยละลายการมองเห็นไอร้อนจากเตา
การประยุกต์ใช้ นำไปใช้ในการสอนเรื่องอื่นๆ สามารถนำเทคนิคข้อสังเกตุต่างๆ ไปปรับปรุงกับการสอนเด็กหัวข้อวิชาอื่นได้
การประเมิน
       ประเมินตนเอง มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน 
       ประเมินเพื่อน สนุกสนานกับการเรียน ให้ความสนใจในการเรียน
       ประเมินผู้สอน มีการเตรียมความพร้อมในการสอนเอกสารอุปกรณ์ไว้พร้อมและเนื่อหาการสอนน่าสนใจ    
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8
วันอังคาร 28 กันยายน 2559

สอบกลางภาค
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7
วันอังคาร 20กันยายน 2559


ความรู้ที่ได้รับ
         คัดลายมือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมครั้งที่ 3
         การทำภาพ 3 มิติ

             โดยนำมือทาบบนกระดาษแล้ววาดตามรอย จาากนั้นขีดเส้นผ่านมือโดยเมื่อถึงมือให้ทำเป็นเส้นโค้งดังภาพ  ทำต่อกันหลายสีเมื่อเสร็จแล้วเราจะเห็นว่ามือนั้นดูนูนขึ้นกลายเป็นภาพ 3 มิติ



              ส่งการบ้านของเล่นภาพติดตา




              นำเสนอของเล่นและจัดหนววดหมู่พร้อมทั้งวิจารณ์เสนอข้อแก้ไข เมื่อจัดแล้วได้หมวดหมู่ดังนี้
                 1.เรื่องแรงหนีจากศูนย์กลาง
                 2.เรื่องแรงพยุง
                 3.เรื่องแรงดันอากาศ
                 4.เรื่องการเกิดเสียง
                 5.เรื่องพลังงานศักย์-พลังงานจล
                 6.เรื่องคานดีด

ทำการทดลองเกี่ยวกับน้ำ 



สมบัติของน้ำ คือ น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ
การทดลองพับกระดาษแล้วนำไปลอยน้ำ
การทดลองนี้ดอกไม้ที่พับไว้เมื่อนำไปลอยน้ำดอกไม้จะค่อยๆบานออกเป็นเพราะว่าน้ำได้ซึมเข้ากระดาษแล้วกระจายตัวทั่วดอกไม้จึงแผ่กระจายออก

การประยุกต์ใช้ สามารถนำเอาการทดลองไปประยุกต์ดัดแปลงเป็นกิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กได้ปฏิบัติได้ เช่น วาดรูป 3 มิติต่างๆ และสามารถนำมาสอนเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ เช่น การทดลองดอกไม้บานสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันก็คือ การซึมซับน้ำของกระดาษชำระ
     
การประเมิน
        ประเมินตนเอง แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
        ประเมินเพื่อน มีการเตรียมตัวนำเสนอของเล่นมาอย่างดี
        ประเมินผู้สอน มาสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้ทำหลากหลายน่าสนใจเกิดความสนุกสนาน ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้ความรู้เพิ่มเติมเป็นระยะ
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6
วันอังคาร 13 กันยายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
      -คัดลายมือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมก่อนเริ่มเรียนเพื่อเป็นการฝึกให้ลายมือสวยและเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว



      -หลักการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาสาสตร์
          ของเล่นต้องมีความหลากหลาย น่าสนใจ สามารถยืดหยุ่นได้เล่นได้หลายรูปแบบเป็นของเล่นที่ึกให้เด็กรู้จักสังเกตอย่างสนุกสนานและสามารถนำมาบูรณาการได้หลายวิชา เช่น การบูรณาการแบบ STEM
      -สะเต็มศึกษา(STEM Education) คือแนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ Sความรู้ทางวิทยาศาสตร์ Tความรู้ทางด้านทางด้านเทคโนโลยี Eความรู้ทางด้านวิสวกรรม และ Mความรู้ด้านคณิตศาสตร์ รวมเข้าด้วยกัน
    ดูวิดีโอเรื่องความลับของแสง
         1.แสงเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นที่มีความสั้น
         2.สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว300,000กิโลเมตร/ชั่วโมง
         3.แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
         4.การหักเหของแสงเกิดจากการที่แสงเดินทางผ่านวัตถุ(ตัวกลาง)คนละชนิดกันและเกิดการหักเหตามมุมของตัวกลางนั้นๆ
         5.วัตถุ(ตัวกลาง) มีสามชนิด คือ วัตถุโปร่งแสง วัตถุดปร่งใส และวัตถุทืบแสง
การประยุกต์ใช้ สามารถนำความรู้ที่ไปใช้ในการสร้างสื่อประดิษฐ์
การประเมิน 
         ประเมินตนเอง มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
         ประเมินเพื่อน ให้ความสนใจในการเรียน
         ประเมินผู้สอน ผู้สอนมีการเตรียมสื่อมาอย่างหลากหลาย

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5
วันอังคาร 16 กันยายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
        ดูวีดีโอเรื่องอากาศมหัศจรรย์


            อากาศ (atmosphere)
               อากาศ คือ ส่วนผสมของก๊าซต่างๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่นๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ หรือมีทุกที่นั้นเอง อากาสไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิน อากาศที่ไม่มีไอน้ำ เรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วยเรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศและไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
            สมบัติของอากาศ(Properties)
              1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
              2.อากาศมีน้ำหนัก
              3.อากาศต้องการที่อยู่
              4.อากาศเลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้นทำให้ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบรเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่นมากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
               อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น
               ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสองบรเวณนั้น ทำให้เกิดลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อพายุนั้นจะเรียกแตกต่างกันไปตามทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
               อุณหภมูิ (temperature) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลดต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของสิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศาฟาเรนไฮต์
               เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ อยู่ปลายด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำ อากาศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
             อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไวโอเลตหรืองแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
             ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ ทำให้เกิดเมฆฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตรกรรมในประเทศ

นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์จากสิ่งเหลือใช้
        1.รายละเอียดของเล่น ปืนใหญ่ลม
        2.อุปกรณ์ ขวดน้ำหนึ่งขวด ลูกโป่งหรือถุงยางมือหนึ่งอัน หนังยางหนึ่งเส้น คัดเตอร์ และเทปกาว




        3.ขั้นตอนการทำ
               ใช้คัตเตอร์ตัดครึ่งขวดใช้ส่วนที่ติดฝา


               นำถุงมือยางหรือลูกโป่งมาครอบที่ขวด
               ใช้หนังยางรัดขวดกับลูกโป่งไว้ให้แน่นและติดเทปกาว


         4.วิธีการเล่น
                นำเศษกระดาษมาวางไว้ข้างหน้าปืนใหญ่ลม แล้วดึงลูกโป่งที่รัดอยู่กับขวดหลังจากนั้นเล็งปากขวดไปที่เศษกระดาษแล้วก็ปล่อย จะทำให้เกิดลมแล้วเศษกระดาษก็จะกระเด็นออกไป
         ข้อสรุปทางวิทยาศาตร์
                ปืนใหญ่ลมอาสัยการผลักอากาศผ่านรูกลมๆโดยการยืดและปล่อยของลูกโป่งทำให้อากาศไปโดนอากาศที่อยู่ด้านหน้าของรูทำให้เกิดการหมุนเป็นรูปโดนัทวิ่งออกไปได้ตรงและไกลและสามารถยิงเศษกระดาษได้
การประยุกต์ใช้ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในการสอนการประดิษฐ์สิ่งการสอน
การประเมิน
         ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลา
         ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียน สนใจกับการเรียนรู้
         ประเมินผู้สอน ผู้สอนติดงานราชการ และมีงานเตรียมไว้ให้คือใบงานความรู้สำหรับนักศึกษาทำในชั่วโมงเรียน
               



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4
วันอังคาร 30 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
      คัดลายมือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมก่อนเข้าสู่บทเรียน



       วิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่างหรือเล่นโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างอิสระซึ่งจะ
ทำให้เด็กมีประสบการณ์ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้นั้นเป็นการที่สมองนำความรู้เดิมผสานซึมซับกับความรู้ใหม่(assimilation : การซึบซับ , accommodation : ปรับความรู้ใหม่)
            กิจกรรมในห้องเรียน
               แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม จากนั้นอาจารย์แจกอุปกรณ์ 1.คลิปหนีบ 2.กระดาษA4 โดยให้นำสองสิ่งนี้มาประดิษฐ์เป็นสื่อการสอนในเรื่อง อากาศ
               เรื่องที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ
                  1.การเกิดฝน (ใช้นิทานเป็นสื่อ)
                  2.พัด
                  3.ลม
                  4.แรงต้านอากาศ
                  5.วงจรฤดูกาล
                  6.ลมโบกลมทะเล(แก้ไขเป็นเรื่องดันอากาศ)



การประยุกต์ใช้
        สามารถนำมาใช้ในการเลือกเรื่องที่จะสอนเด็กในวิชาอืนๆได้
การประเมิน
        ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน
        ประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างดี
        ประเมินผู้สอน ผู้สอนให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจ

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3
วันอังคาร 23 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
       สรุปความรู้ใบงานเรื่อง
           รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
           คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี
           ทฤษฎีการเรียนรู้
           การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
           การเรียนรู้แบบองค์รวมและธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
การประยุกต์ใช้
        การสรุปเนื้อหาทำให้เรามีความเข้าใจได้ง่ายและจดจำได้นานเพราะเป็นการโน๊ตจุดสำคัญสามารถใช้ในการวางแผนทำสิ่งต่างๆได้
การประเมิน
        ประเมินตนอง ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลา
        ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
        ประเมินผู้สอน ผู้สอนติดงานราชการ แต่มีการเตรียมงานเตรียมใบความรู้สำหรับนักศึกษาทำในคาบเรียน

ศึกษาดูงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ณ เมืองทองธานี
18-28 สิงหาคม 2559
9.00-19.00 น.
อาคารอิมแพ็ค Hall 2-8 เมืองทองธานี


      งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559 (National Science and Technology Fair 2016) ภายใต้แนวคิด "จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม" ซึ่งภายในงานได้รวมสุดยอดนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาจัดแสดงให้แก่เยาวชนและผู้สนใจทั่วไปได้เข้าชม

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2 
วันจันทร์ 22 สิงหาคม 2559
(ชดเชยวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2559)

ความรู้ที่ได้รับ
     อาจารย์สอนเรื่องวิทยาสาสตร์ โดยเริ่มจากการถามว่า วิทยาศาสตร์คืออะไร
          วิทยาศาสตร์ หมายถึง ข้อมูลความจริงของสิ่งต่างๆรอบตัว เป็นการสืบค้นหรือค้นหาความจริงโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การทดลอง การใช้เหตุผล การสำรวจ การแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ เป็นต้น เพื่อให้ได้ซึ่งความรู้และข้อเท็จจริง
          วิทยาศาสตร์สำคัญอย่างไร เป็นสิ่งที่ตอบสนองการดำรงชีวิตทำให้เกิดความสะดวกสบายสำคัญต่อการสร้างประสบการณ์ทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
          วิธีการการเลือกเรื่องที่จะมาสอนเด็กควรเลือกจาก เรื่องใกล้ตัวเด็ก ความสนใจของเด็ก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนั้น สิ่งที่มีผลกระทบต่อเด็ก
          กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) คือ การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีกระบวนการที่เป็นแบบแผนมีขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ 
            1.กำหนดปัญหา 2.ตั้งสมมติฐาน 3.รวบรวมข้อมูล 4.วิเคราะห์ 5.สรปผล
          เครื่องมือการเรียนรู้ 
            1.ภาษา (Language) 2.คณิตศาสตร์ (Mathematics)
          เจตคติทางวิทยาศาสตร์
            1.อยากรู้อยากเห็น ซึ่งทำให้เกิดการตั้งปัญหา
            2.มีตวามเพียรพยายาม
            3.มีความระเบียบรอบคอบ
            4.มีความซื่อสัตย์
            5.มีเหตุผล
            6.มีความใจกว้าง
          แนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์คือการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวของสิ่งต่างๆในธรรมชาติ เช่น การที่กิ้งก่าเปลี่ยนสีได้เพื่อพลางตัว ธรรมชาตมีความแตกต่าง การพึ่งพาอาศัยกัน เ่ช่น ควายกับนกเอี้ยง ความสมดุล ซึ่งหากไม่มีจะทำให้เกิดปัญหา
การประยุกต์ใช้
      นำมาปรับใช้กับชีวิตจริงและปรับใช้กับการสอนและทำให้มีความเข้าใจในวิทยาสาสตร์มากขึ้น
การประเมิน
      ประเมินตนเอง แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลามีความตั้งใจเรียนและสอบถามเมื่อไม่เข้าใจ การโน๊ตมีความสับสนอยู่บ้างเพราะเป็นเนื้อหาที่ซับซ้อน
      ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์ด้วยความสนใจ
      ประเมินผู้สอน เนื้อหามีความยากผู้สอนควรมีเอกสารให้เพื่อให้การรับข้อมูลเป็นไปในทางเดียวกัน เพราะข้อมูลบางอันจดไม่ตรงกันกับเพื่อน